ลักษณะของ กุมภัณฑ์(Kumbhanda)
โพสท์โดย นาคเฝ้าคัมภีร์
ข้อมูลที่มีอยู่ตามนิทานพื้นบ้านและวรรณคดีมีการเหมารวมเรียกกุมภัณฑ์และยักษ์ปะปนจนทำให้คนในชั้นหลัง มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนคิดว่ากุมภัณฑ์และยักษ์นั้นคือพวกเดียวกัน เช่นเดียวกับกรณีที่มีความเข้าใจมักง่ายสับสนเลอะเทอะว่า ยักษ์ก็คืออสูร(ซึ่งความจริงจากบันทึกทางพระพุทธศาสนานั้น ยักษ์กับอสูร ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลยแม้แต่น้อย) ซึ่งหากให้ท้าวความถึงความสับสนเรื่องกุมภัณฑ์และยักษ์ในนิทานพื้นบ้านและวรรณคดีนี้ คงต้องย้อนกลับไปถึงมหากาพย์วรรณคดีต้นตำรับของนิทานพื้นบ้านและวรรณคดีในยุคต่อๆมา คือ รามเกียรติ์
ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์นี้ มีการนำคำว่า กุมภัณฑ์ และ ยักษ์ มาใช้เป็นสรรพนามเรียกชาวลงและพันธมิตร(รวมถึงคำว่า รากษส และ มาร ด้วย) ซึ่งการที่รามเกียรติ์ระบุให้ใช้คำสรรพนามที่หลากหลายเรียกแทนตัวชาวลงกาและพันธมิตรนี้ เป็นเพราะว่า แท้จริงนั้น สงครามระหว่างพระรามกับชาวลงกาและพันธมิตรนี้ หาใช่สงครามระหว่างมนุษย์กับอมนุษย์เขี้ยวโง้งแต่อย่างใด แต่เป็นสงครามอารยธรรมระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน โดยมีการแย่งชิงพระแม่องค์ธรรม(นางสีดา)เพื่อนำไปพัฒนาอารยธรรมในสังคมของพวกตนเป็นเป้าหมายสูงสุดต่างหาก ในเรื่องของนางสีดาในฐานะของ”พระแม่องค์ธรรม”นี้ มีรายละเอียดวิเคราะห์ขยายความรวมไว้แล้วในบทความ ชื่อ
ดังนั้น การใช้คำว่า กุมภัณฑ์ ยักษ์ รากษส มาร เป็นคำสรรพนามเรียกรวมชาวลงกาและพันธมิตรในรามเกียรติ์นี้ จึงต้องขอยกไว้ในฐานที่เข้าใจตามข้อมูลข้างต้นนี้แต่โดยดี ซึ่งหลังจาก วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ได้เป็นที่แพร่หลายในยุคสมัยนั้นแล้ว นิทานพื้นบ้านและวรรณคดีในยุคต่อๆมาจึงนิยมใช้คำว่า กุมภัณฑ์ ยักษ์ รากษส มาร เรียกผสมปะปนกันตามมาด้วย จึงนับเป็นหลักฐานยืนยันได้อีกเรื่องหนึ่งว่า นิทานพื้นบ้านและวรรณคดีทั้งหลาย“เกิดขึ้นหลังรามเกียรติ์ ต้นรัตนโกสินทร์ทั้งหมด”ด้วยเช่นกัน
เมื่อได้ปรับความเข้าใจพื้นฐานกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ ขอวกกลับเข้าเรื่องของ กุมภัณฑ์ กันต่อ
ตามข้อมูลในบันทึกทางพระพุทธศาสนา กุมภัณฑ์ คือ เทวดากลุ่มหนึ่งของสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา อาศัยอยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ ลักษณะทางกายภาพภายนอกโดยทั่วไปของกุมภัณฑ์นั้นมีลักษณะคล้ายกับยักษ์ซึ่งเป็นชาวจาตุมหาราชิกาที่อาศัยอยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ แต่จะมีข้อแตกต่างกันอยู่ในบางประการ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากความหมายของชื่อกุมภัณฑ์นี้เอง
คำว่า กุมภัณฑ์ มาจากพื้นฐานคำศัพท์ของคำว่า กุมภ(หม้อ) + อัณฑะ(ไข่) หมายถึง ผู้มีอัณฑะ(ไข่)ขนาดเท่าหม้อ ในด้านการออกแบบ งานจิตรกรรมของสยามได้ออกแบบให้กุมภัณฑ์กับยักษ์มีท่ายืนที่แตกต่างกัน คือ
ยักษ์ จะยืนในลักษณะปกติ คือท่ายืนตรง หรืออาจแยกขาออกเล็กน้อยในลักษณะของการย่อตัวโก่งขา
กุมภัณฑ์ จะยืนในลักษณะถ่างขาออกมากว่าปกติ รึก็คือการยืนแบบท่าฝึกถีบเหลี่ยมซึ่งเป็นท่ายืนของตัวยักษ์และลิงในการแสดงโขนนั่นเอง
เรื่องบุพกรรมที่ทำให้มากำเนิดเป็นกุมภัณฑ์นั้น มาจากการที่ สมัยยังเป็นมนุษย์มีนิสัย ความหยาบ ถ่อยสถุล โหวกเหวก เสียงดัง ข้ามหัวผู้คน ใช้อิทธิพล(เถื่อน)อวดตนใหญ่เพื่อจอง(ยึด)จุดนั่งทำบุญฟังธรรมคนเดียว เป็นพวกใหญ่คับที่ รวมถึงพวกที่อ้างบุญ เพื่อที่ตัวเองจะได้ลาภสักการะ แต่ทั้ง ๒ พวกนี้ก็ยังสนับสนุนการทำบุญจึงได้อานิสงค์ใหญ่จากทำบุญฟังธรรมเหล่านั้นมาด้วยเช่นกัน เมื่อสิ้นจากความเป็นมนุษย์ลงแล้ว ผลบุญใหญ่ที่เคยทำไว้จึงให้ผลลัพธ์ออกมาพร้อมกับสันดานเก่าที่ชอบแสดงเวลาทำบุญทำให้ถือกำเนิดเป็น กุมภัณฑ์ ชาวสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาทิศใต้ผู้มีอัณฑะใหญ่เป็นอานิสงค์ไว้โอ้อวดผู้อื่น
แต่เนื่องจากลักษณะของกุมภัณฑ์นั้นค่อนข้างติดเรต ในงานจิตรกรรมโบราณของสยามจึงไม่ได้ระบุจุดเด่นของกุมภัณฑ์ในข้อนี้ลงไปด้วย คงเหลือไว้แต่ลักษณะท่ายืนที่ต้องย่อตัวถ่างขาออกจนเกือบจะตั้งฉาก(เพราะมันหนัก) แต่ขณะเดียวกันในประเทศญี่ปุ่นซึ่งศาสนาพุทธได้เข้าไปวางรากฐานให้สังคมทุกระดับชั้นไว้แล้วนั้น เราสามารถพบจุดเด่นของกุมภัณฑ์ถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างลงตัว สนุกสนาน ไม่เขอะเขินอุจาดตา ในรูปของตัว“ทานูกิ(Tanuki)” ในงานศิลป์ของญี่ปุ่นเราจะพบว่า ตัวทานูกินอกจากสามารถแปลงกายได้แล้ว(ว่ากันว่าทานูกิถนัดแปลงกายเป็นวัตถุมากกว่าสิ่งมีชีวิต)ยังสามารถใช้อัณฑะของตนแผลงฤทธิ์แสดงอภินิหารและใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย เนื่องจากจุดเด่นของทานูกิ คือ มีอัณฑะขนาดใหญ่เช่นเดียวกับกุมภัณฑ์(เผลอๆจะใหญ่กว่าด้วย) และทานูกิมีความสามารถในการยืดขยายย่อส่วนและแปลงสภาพหนังอัณฑะของตนเป็นสิ่งต่างๆได้(แม้ว่าจะมีอยู่หลายภาพที่อุตส่าห์ปลอมอย่างดีแต่ก็ไม่เนียนก็ตาม)
(รูปบน)พี่แกใช้งานซะคุ้มเลย
(รูปบน)...
(รูปบน)จะว่าใช้งานได้เข้าท่ามั้ย มันก็...
(รูปบน)ไม่เนียนนะ แต่มองผ่านๆก็โอเค
(รูปบน)จัดชุดใหญ่
(รูปบน)สนุกสนานกันน่าดู
(รูปบน)...
เมื่อผนวกข้อมูลของกุมภัณฑ์กับทานูกิเข้าด้วยกันแล้ว จึงพออนุมานได้ว่า กุมภัณฑ์นั้นสามารถใช้ฤทธิ์ของตนผ่านทางอัณฑะได้เช่นเดียวกับพวกทานูกินั่นเอง
(รูปบน) กุมภัณฑนิรมิตาปูชา(วาดเล่นๆ)
อนึ่ง เมื่อพิจารณาจากลักษณะของชื่อและกายภาพของกุมภัณฑ์แล้ว กุมภัณฑ์ที่ทำงานรับใช้ท้าวเวสสุวัณ ที่เรียกว่า รากษส น่าจะนิยมอยู่ในแผนกขนน้ำมากที่สุด(รากษส ประเภท ผีเสื้อน้ำ) เพราะเมื่ออยู่ในน้ำแล้วมันจะบังตัวท่อนล่างได้มิดชิดสุดๆ ไม่มีใครเห็นแน่นอน(ถ้าไม่ขึ้นจากน้ำมาซะเอง)
ข้อมูลเกี่ยวกับรากษส
เนื่องจากลักษณะท่ายืนแบบถ่างขาของกุมภัณฑ์ในงานจิตรกรรมสยามโบราณ เป็นเพียงจุดสังเกตเดียวที่ทำให้กุมภัณฑ์ดูแตกต่างกับยักษ์ ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความแตกต่างในยุคหลังต่อๆมาเข้าใจคลาดเคลื่อนนำกุมภัณฑ์ไปจำสับสนปนกับยักษ์ไปเสีย(ส่วนในกรณีของกุมภัณฑ์เพศหญิงนั้น น่าจะประมาณว่า มีเต้ายานลากดินตนต้องเดินขาถ่างลากเต้าเพราะเต้าหนักแบบกุมภัณฑ์ชาย)
กุมภัณฑ์(Kumbhanda/ญี่ปุ่นเรียกว่า Kuhanda)
(๒ รูปบน) กุมภัณฑ์(ชาย)
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
28 VOTES (4/5 จาก 7 คน)
VOTED: เผลอหัวใจ, bphilos, พี่เกดไม่เข้าใจอ่ะ, ซาอิ, แมวฮั่ว แมวขี้น้อยใจ
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ












Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด



