ฟิสิกส์ของ “มารดาแห่งระเบิด” หรือ MOAB ที่สหรัฐฯทิ้งใส่เป้าหมายเมื่อ 13 เม.ย.ที่ผ่านมา
มารู้จักลูกระเบิดยักษ์ MOAB ในแง่ของฟิสิกส์กัน
เอาล่ะ ถึงวันนี้ เรื่องการทหารการเมืองน่าจะเดินหน้าไปไกลหลังกองทัพสหรัฐฯตัดสินใจหย่อน “มารดาแห่งระเบิด” หรือ MOAB ลงใส่เป้าหมายนั่นคือแถบเทือกเขาในจังหวัดนันกาฮาร์ (Nangarhar) ทางตะวันออกของประเทศอัฟนิสถาน ซึ่งคาดว่ามีถ้ำจำนวนมากที่ใช้เป็นที่หลบซ่อนของกลุ่ม ISIS
ชื่อจริงของลูกระเบิดยักษนี้คือ Massive Ordnance Air Blast รหัส GBU-43/B เป็นระเบิดที่ใช้หย่อนลงจากเครื่องบิน และไม่เคยใช้ที่ไหนมาก่อน
เจ้า “มารดาแห่งระเบิด” นี้ มีราคา 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อลูก มีน้ำหนัก 10.3 ตัน โดยเป็นน้ำหนักของสารประกอบระเบิดชนิด H6 ราว 8.5 ตันที่เหลือเป็นน้ำหนักของเปลือกหุ้มและส่วนอื่นๆ มีความยาวทั้งสิ้ย 9.2 เมตรหรือราว 30 ฟุต ระเบิดนี้มีแรงระเบิดเทียบเท่า TNT หนัก 11 ตัน และปลดปล่อยพลังงานออกมาขณะระเบิด 46 ล้านจูล
ในทางฟิสิกส์ พลังงาน 46 ล้านจูลเทียบได้กับพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาขณะเกิดแผ่นดินไหวแมกนิจูด 5.9 ถึง 6.0
ระเบิดยักษ์นี้ถูกออกแบบให้ระเบิดกลางอากาศที่ความสูง 1.8 เมตรก่อนตกลงกระเทกพื้น ณ บริเวณเป้าหมาย นั่นคือเราสร้างพลังงานจากแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ถึง 6.0 กลางอากาศ ก่อให้เกิดการขยายตัวของอากาศเป็นฟองหรือ Bubble ซึ่งเป็นทรงกลมขนาดใหญ่ออกไปอย่างรวดเร็วไปรอบทิศทาง แต่เนื่องจากขอบล่างของทรงกลมนี้เป็นพื้นโลก ทำให้เกิดการสะท้อนกลับของคลื่นที่เดินทางด้วยความเร็วที่เร็วกว่าคลื่นลูกแรกที่เกิดจากการระเบิด คลื่นทั้งสองจะเดินทางไปทันกันและรวมตัวเข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่า Mach Stem กลายเป็นกำแพงอากาศความเร็วสูงเหนือเสียงที่มีแรงปะทะมหาศาล ก่อให้เกิดพลังทำลายล้างสูงมาก โดยเทคนิคนี้เลียนแบบมาจากการระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์
ผลการทำลายของ MOAB นั้นทุกสิ่งในรัศมี 150 เมตรจะถูกสลายป่นปี้ ความกว้างของการทำลายขยายตัวออกเป็นวงกลมีรัศมี 1.6 กม.กินพื้นที่รวมราว 8.04 ตาราง กม.
เรียบเรียงโดย @MrVop
http://jimmysoftwareblog.com/node/6454













