ชาวเน็ตเห็นต่าง! กรณีห้ามผู้หญิงขึ้นอุโบสถ ชี้เป็นการเหยียดเพศ เป็นความเชื่อผู้ชายเป็นใหญ่ หรือชายประเสริฐสูงส่งกว่าหญิง
จากกรณีที่มีข่าวที่มีผู้หญิงกลุ่มหนึ่งฝ่าฝืนกฏห้ามผู้หญิงขึ้นอุโบสถในวัดศรีสุพรรณ ในจ.เขียงใหม่ ทั้งๆที่มีป้ายห้ามเตือน โดยเชื่อกันว่าหากผู้หญิงฝ่าฝืนเข้าไปจะ ก่อให้เกิดความอัปปรี จัญไร ทำให้คงามศักดิ์เกิดความเสื่อม และเป็นความเชื่อมีนับถือกันมากว่า 500 ปีแล้ว
แต่มีชาวเน็ตที่มีความเห็นต่างว่า ความเชื่อนี้ถือเป็นการเหยีดเพศ และถือว่าผู้ชายเป็นใหญ่หรือประเสริฐกว่าหญิง โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ชื่อสุรพศ ทวีศักดิ์ได้โพสท์ระบุว่า
ตอนแรกว่าจะไม่พูดเรื่องนี้ แต่เห็นบางคนพูดทำนองว่า ที่ผู้หญิงไม่ทำตามป้ายห้าม เข้าไปในโบสถ์เป็นการ "ดูถูกความเชื่อคนอื่น" และจะอ้าง "สิทธิ" เพื่อไม่ทำตามความเชื่อนั้นไม่ได้
คำถามคือ การดูถูกความเชื่อคนอื่นตัดสินจากอะไร? ใครคือคนที่แสดงตัวเป็นเจ้าของความเชื่อนั้น และใครที่แสดงตัวว่าความเชื่อของเขาถูกดูถูก ก็เห็นมีคนเพียงไม่กี่คนที่รับสมอ้างว่าตนพูดแทนคนทั้งหมด
ถ้าอ้างเรื่อง "ความรู้สึก" แล้วผู้หญิงที่ถูกห้ามอ้างได้ไหมว่าพวกเธอก็รู้สึกว่าตนถูกดูถูก ถูกมองว่าเป็นคนไม่เท่ากัน แล้วจะเอายังไง ควรคำนึงถึงความรู้สึกฝ่ายหนึ่งแต่ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความรู้สึกอีกฝ่ายงั้นหรือ หรือว่าเรื่อง "ความรู้สึก" ไม่ใช่เรื่องที่่ควรอ้างกันง่ายๆ หรือไม่ใช่เรื่องที่ควรนำมาอ้างกันเสมอๆ เพื่อให้เชื่อกันผิดๆ ว่าเรื่องความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ (ที่ไม่เคยพิสูจน์กันจริงๆ) สำคัญกว่าสิทธิ
ในความเป็นจริง การที่ใครตัดสินใจที่จะไม่ทำตามป้ายห้ามบางอย่าง(เช่นในกรณีนี้) มันไม่ได้แปลว่าเขากำลัง "ดูถูกความเชื่อคนอื่น" เลย เขาอาจจะมีเหตุผลบางอย่างของเขา หรือพูดโดยรวมๆ คือการที่บางคนคิดต่าง กระทำต่าง หรือคิดและกระทำในทางตรงข้าม หรือขัดแย้งกับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ไม่ได้แปลว่าเขาดูถูกความเชื่อของคนส่วนใหญ่เสมอไป ในกรณีนี้ก็แค่เขาเดินเข้าไป ไม่ได้ทำอย่างอื่นที่เป็นการดูถูก (อย่างเช่นไม่ได้ทำอนาจารหรืออะไรที่ไม่ควรทำในที่สาธารณะ) จะไปบอกว่าเขาดูถูกความเชื่อคนอื่นได้ไง
ประเด็นเรื่องนี้คือ ความเชื่อที่อ้างว่าสืบต่อมา 500 ปี ที่ว่าถ้าผู้หญิงเข้าไปจะทำให้ของขลังที่ฝังไว้ใต้โบสถ์เสื่อม(เป็นต้น) เป็นความเชื่อที่ขัดกับสิทธิเท่าเทียมทางเพศชัดเจนอยู่แล้ว คือเป็นความเชื่อในวัฒนธรรมผู้ชายเป็นใหญ่ หรือชายประเสริฐสูงส่งกว่าหญิง เพราะผู้ชายเหยียบย่างเข้าไปในพื้นที่นี้ได้ของขลังหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่เสื่อม แต่ถ้าผู้หญิงเข้าไปทำให้เสื่อมได้ นี่คือการมองคุณค่าของคนไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นฐานคิดเบื้องหลังของการไม่เคารพสิทธิเท่าเทียมทางเพศ
คำถามคือ ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อของพุทธศาสนาจริงหรือ มีหลักการ หรือหลักคำสอนพุทธรองรับความเชื่อนี้อย่างไร ก็ไม่มีใครอธิบายได้ ถ้าเป็นความเชื่อของชาววัดและชาวบ้านเฉยๆ พวกเขาก็อาจมีเหตุผลที่จะเชื่อเช่นนั้นถ้าในยุคเก่าหรือยุคโบราณ แต่ในศตวรรษที่ 21 ความเชื่อเช่นนี้ไม่มีเหตุผลรองรับอีกแล้ว
ลองคิดดูครับว่า ถ้าสังคมระดับหมู่บ้าน หรือระดับประเทศอ้างความเชื่อล้าหลังแบบโบราณสำคัญกว่าเรื่อง "สิทธิเท่าเทียม" มาใช้เป็น "บรรทัดฐาน" ในโลกสมัยใหม่ สังคมย่อมเปลี่ยนแปลงในทางที่ก้าวหน้าขึ้นไม่ได้ พุทธศาสนาเองก็จะกลายเป็นของแปลกปลอม ขัดกับหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคอันเป็นคุณค่าสำคัญในโลกสมัยใหม่เสมอไป เราต้องการให้เป็นแบบนี้กันจริงๆ หรือ
ในเรื่องนี้ผมเห็นว่า ผู้หญิงสามารถอ้างสิทธิในการเข้าไปในพื้นที่โบสถ์ (ยกเว้นไม่ขึ้นไปนั่งบนที่นั่งของพระ) ได้ และอ้างสิทธิเรียกร้องให้ยกเลิกการติดป้ายห้ามได้ การกระทำตามสิทธิเช่นนี้ไม่ใช่การดูถูกความเชื่อใคร และไม่มีใครมีอภิสิทธิ์อ้างความเชื่อของคนส่วนใหญ่ปิดกั้นหรือละเมิดสิทธิของบุคคลได้
ทั้งนี้ยังมีบางคอมเม้นท์ที่ให้ความเห็นว่า ผู้หญิงเป็นเพศที่มีประจำเดือนจึงทำให้เป็นสิ่งสกปรก และทำให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เสื่อม แต่มันก็สกปรกไม่ต่างจากอุจจาระเช่นกัน ...แบบนี้อุจจาระในผู้ชายอาจจะทำให้สิ่งศักดิ์เสื่อมไปด้วยหรือไม่?
ทั้งนี้โปรดใช้วิจารณญาณ
แหล่งที่มา:สุรพศ ทวีศักดิ์
https://www.facebook.com/suraphotthaweesak/posts/1589845074442159















