แด่ผู้หญิงสถานะต่ำต้อยในสังคม ถูกผู้ชายผู้มีสถานะอันสูงส่งในสังคม ใช้ "ช่องคลอด" ของเธอเพื่อสร้างชื่อเสียงให้ตนเอง
แด่ผู้หญิงสถานะต่ำต้อยในสังคมผู้ถูกผู้ชายผู้มีสถานะอันสูงส่งในสังคม ใช้ "ช่องคลอด" ของเธอเพื่อสร้างชื่อเสียงให้ตนเอง
นายแพทย์ J. Marion Sims ผู้เป็น President of the American Medical Association และ the New York Academy of Medicine.
ทั้งยังมีอนุสาวรีย์ในกรุง New York ในฐานะ "บิดาของวงการสูติศาสตร์ยุคใหม่" จากชื่อเสียงอันโด่งดังของเขาในการค้นพบการเทคนิคการเย็มซ่อมช่องคลอดที่เกิดความเสียหายจากการคลอดจนไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้
แต่เบื้องหลังเทคนิคอันนำมาสู่ชื่อเสียงอันขจรขจายของนายแพทย์ผู้นี้คือการทดลองวิธีการเย็บซ่อมช่องคลอดแบบต่างๆ ครั้งแล้วครั้งเล่ากว่า 30 ครั้ง
ระหว่างปี ค.ศ.1835 ถึง 1849 เมื่อเขาเปิดคลินิกที่เมือง Montgomeryด้วยพื้นที่การทดลองคือ "ช่องคลอด" ของทาสหญิง 3 คน Betsey, Anarcha, และ Lucyการทดลองเย็บช่องคลอดด้วยวิธีการต่างๆนี้ทำไปเพื่อทดลองซ่อมกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ รวมทั้งช่องคลอดที่ฉีกขาดทั้ง 3 คนการเย็บซ่อมทุกครั้งของการทดลองนั้นไม่มีการใช้ยาสลบเพื่อลดความเจ็บปวด
เพราะนายแพทย์ Simsบอกว่า "ทาสผิวดำไม่มีความรู้สึกเจ็บ" นอกจากนี้การทดลองเย็บช่องคลอดยังทำท่ามกลางสายตาของแพทย์อีกจำนวนมากที่เขาเชื้อเชิญมาชมการผ่าตัดนายแพทย์ J. Marion Sims ยังเขียนไว้ในบันทึกของเขาว่า"เขาทำการผ่าตัดครั้งแล้วครั้งเล่าให้ทาสเหล่านี้โดยไม่คิดเงินสักเซนต์เดียว ทำให้พวกทาสรู้สึกขอบคุณเขาอย่างมาก"ต่างจากบันทึกอีกฉบับที่กล่าวถึงความทุกข์ทรมานเจ็บปวดอย่างแสนสาหัสของ Betsey, Anarcha, และ Lucy ตลอดช่วงเวลาของการทดลอง
แม้นายแพทย์ J. Marion Simsจะได้รับการยกย่องอย่างมากในช่วงศตวรรษที่ 19
แต่บัดนี้มีการเคลื่อนไหวของผู้คนจำนวนมากให้รื้ออนุสาวรีย์ของเขาลง
อนุสาวรีย์ของชื่อเสียงที่เขาได้มา
โดยละเมิดความเป็นมนุษย์ของคนอื่นอย่างชั่วร้าย
เก็บความบางส่วนจาก
A surgeon experimented on slave women without anesthesia. Now his statues are under attack.
หัวใจสำคัญหนึ่งของการพัฒนาสมรรถนะวัฒนธรรมในตัวเราโดยการเปลี่ยนแปลงจากด้านใน ไม่ใช่เพียงแค่การเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง แล้วกล่าวอ้างว่าตนมีสมรรถนะวัฒนธรรมแล้ว
คือการศึกษาประวัติศาสตร์ความเลวร้ายของวิชาชีพของตนเองเพื่อลดความอหังการว่าวิชาชีพของตนนั้นสูงสุขประดุจเทพที่มาช่วยผู้คน แต่ให้เข้าใจว่าทุกวิชาชีพมีรอยด่างที่เกิดจากความไม่เคารพความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่าง เพื่อไม่ให้ผลิตซ้ำ "ความชั่วร้าย" เช่นนี้อีกครั้ง
cr. สมรรถะวัฒนะธรรม










