สถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตต้นแบบหัวลำโพง
สถานีกรุงเทพการก่อสร้างลักษณะ คล้ายกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี
คล้ายกันยังกับฝาแฝดไปดูกัน
ด้านหน้า
ด้านใน
แต่รถไฟเออออ..
แต่ส่วนอื่นคล้ายกันนะ
ซึ่งถือว่าเป็นการปรับสยามสู่ยุคใหม่ ให้ต่างชาติเห็นว่าสยามไม่ใช่ประเทศที่คบค้าสมาคมกับชาติตะวันตกเช่นกัน
ตามหนังสือประวัติศาสตร์หลายฉบับ ระบุว่า ย่านหัวลำโพง เคยเป็นทุ่งเลี้ยงวัว และมีต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ต้นลำโพง ขึ้นจำนวนมาก จึงเรียกย่านนี้กันว่า ทุ่งวัวลำพอง เช่นเดียวกับชื่อวัดหัวลำโพง ที่เรียกกันว่า วัดวัวลำพอง แล้วก็เรียกกันผิดเพี้ยนจนมาเป็น “หัวลำโพง”
หลังจากที่เมืองเริ่มเจริญเติบโต รับอิทธิพลจากชนชาติตะวันตกเข้ามามากขึ้น ในปี พ.ศ. 2453 (สมัยรัชกาลที่ 5) เริ่มมีการก่อสร้างสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือสถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งเป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุดขึ้น
เมื่อสถานีกลางบางซื่อเปิดใช้งานในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ซึ่งจะเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่งผลให้สถานีกรุงเทพจะต้องลดสถานะจากสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นสถานีรองลงมาจากสถานีกลางบางซื่อ
ซึ่งในอนาคตสถานีกรุงเทพจะเป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง , รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-หัวหมาก และจะพัฒนาพื้นที่เป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟไทยและศูนย์การเรียนรู้
โดยในช่วงแรกที่สถานีกลางบางซื่อเปิดใช้ จะมีเพียงรถไฟทางไกลบางขบวนเท่านั้นที่สามารถขึ้นไปใช้ได้ เช่น
ขบวนรถนั่งและนอนปรับอากาศรุ่น JR-West Blue train (บนท.ป.JR)
ที่ปรับปรุงใหม่ซึ่งจะพ่วงกับรถไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.Power Car)
, ขบวนรถนั่งและนอนปรับอากาศรุ่น CNR ชุด 115 คันซึ่งมีห้องน้ำเป็นระบบปิดและมีรถไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.Power Car)
อยู่ในริ้วขบวน ส่วนรถไฟทางไกลขบวนอื่นๆจะยังคงใช้สถานีกรุงเทพต่อไปจนกว่าจะปรับปรุงห้องน้ำในตู้โดยสารเป็นระบบปิดจนเสร็จสิ้นแล้ว จึงจะทยอยไปรวมที่สถานีกลางบางซื่อต่อไป
หัวลำโพงคือหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย
ขอบคุณข้อมูลภาพ

















