แม่เลี้ยงเดี่ยวเกือบตาย เป็นมะเร็งเต้านมหายาก เพราะซิลิโคนเสริมหน้าอก
การเข้ารับการผ่าตัดเพื่อความงาม เป็นสิ่งที่ชาวอังกฤษจำนวนมากทำกัน ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา จากสถิติของสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่ง ของอังกฤษพบว่า "การเสริมหน้าอก มักเป็นการผ่าตัดที่ได้รับความนิยมสูงสุด ในหมู่ผู้หญิง โดยมีชาวอังกฤษมากกว่า 5,000 คน เข้ารับการผ่าตัดในปี 2024" อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย ของการผ่าตัดนี้เริ่มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ผู้หญิงคนหนึ่งที่ประสบภาวะแทรกซ้อน ที่อาจถึงแก่ชีวิตจากการผ่าตัดคือ "โคเล็ตต์ คูเปอร์" แม่วัย 51 ปี ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งชนิดหายาก หลังจากการผ่าตัดเสริมหน้าอก ในปี 2014 โดยในเดือนมีนาคม 2025 เธอตื่นขึ้นมาพบว่าเต้านมด้านซ้ายของเธอ มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 2 เท่า เธอเลยรีบไปหาหมอทันที...
ภายหลังอัลตราซาวนด์พบว่า "มีของเหลว 240 มิลลิลิตร ก่อตัวขึ้นรอบๆเต้านมข้างซ้ายของเธอ ระหว่างแคปซูลของเต้านมเทียม ซึ่งเป็นชั้นเนื้อเยื่อแผลเป็น ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หลังการผ่าตัดและเต้านมเทียม" และ "จากการตรวจต่อ เพื่อเตรียมตัวรักษาพบว่า เธอเป็นมะเร็งชนิดหายาก คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดเซลล์ใหญ่ ชนิดอะนาพลาสติก ที่เกี่ยวข้องกับการใส่เต้านมเทียม ซึ่งเกิดจากเต้านมเทียมที่ใส่มา 11 ปี"
องค์การอนามัยโลกระบุว่า "มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดเซลล์ใหญ่ ชนิดอะนาพลาสติก เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน ชนิดหายาก ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกัน ต่อเต้านมเทียมที่มีผิวสัมผัส" และ "อาการหลักคือ มีของเหลวจำนวนมากสะสมอยู่รอบๆ เต้านมเทียม หรือที่เรียกว่า "ซีโรมา" โดยผู้ป่วยมักจะพบว่าขนาดเต้านม เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ไม่เจ็บปวด..."
ข่าวนี้สร้างความเสียใจให้กับ "โคเล็ตต์ คูเปอร์" เป็นอย่างมาก เธอเริ่มกังวลเกี่ยวกับอนาคตของเธอ และ ของลูกของเธอ เพราะเธอเป็นแม่เลี้ยงเดียว ถ้าเธอตายลูกเธฮจะอยู่อย่างไร?
แต่โชคดีที่เจ้าหน้าที่แพทย์ สามารถผ่าตัดเอาเต้านมเทียมออกได้ พร้อมกับตัดกล้ามเนื้อหน้าอกบางส่วนออก ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งตอนนี้เธอหายจากโรคมะเร็งแล้ว...
อย่างไรก็ตาม "โคเล็ตต์ คูเปอร์" รู้สึกตกใจมากเมื่อพบว่าโรคนี้ เกี่ยวข้องกับซิลิโคนเสริมหน้าอก แบบมีผิวสัมผัสเท่านั้น...






















