หญ้าตีนกา
หญ้าตีนกาเป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปทั้งในที่ราบตํ่า และที่สูงจากระดับนํ้าทะเลถึง 1,000 เมตร ขึ้นไป มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น หญ้าปากควาย (กลาง) หญ้าตีนกับแก้ (เลย) หญ้าตีนนก (กรุงเทพฯ) หญ้าปากคอก (สระบุรี) หญ้าผากควาย (ภาคเหนือ)
ลักษณะสำคัญของหญ้าตีนกา
เป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า อายุปีเดียว แตกกิ่งก้านมากที่โคนต้น ลำต้นสูง 25-60 ซม. แบน สีเขียวอ่อนมันเป็นเงา เหนียว อาจจะแผ่ติดพื้นดินหรือตั้งตรงก็ได้ กาบโอบหุ้มลำต้น ลักษณะแบนเช่นเดียวกับลำต้น มีลายตามยาว ตามขอบและที่คอต่อมีขนยาวห่าง ๆ ที่คอต่อมีลิ้นสั้น ๆ บาง ๆ ยาว 0.2-0.5 มม. ปลายตัดเรียบ หรือเป็นครุย
ใบรูปยาวแคบ กว้าง 4-10 มม. ยาว 15- 25 ซม. ปลายแหลม โคนใบมน ตามขอบใบใกล้ปลายใบมีขนสาก ด้านบนมีขนยาวประปราย มีแถบสีเหลืองใสจากโคนใบ ยาว 2-3 มม.
ดอกออกเป็นช่อ 2-6 ช่อ รวมกันเป็นช่อใหญ่แบบซี่ร่ม แต่มีอยู่ช่อหนึงมักจะออกจากลำต้นและอยู่ตํ่ากว่าช่ออื่น ๆ แต่ละช่อกว้าง 4-8 มม. ยาว 4-7 ซม. แต่ละช่อมีหลายช่อดอกย่อย (spikelets) ยาว 5-7 มม. ออกจากแกนกลางด้านเดียว แต่ละช่อดอก ย่อยมี 3-8 ดอก (florets) มีลักษณะเกลี้ยง
กาบของช่อดอกย่อยใบล่าง (lower glume) กว้าง โค้งเป็นรูปเรือ ขอบบางใสหรือมีสีม่วง ยาว 2-3 มม. มีเส้นตามยาว 2-4 เสัน ใบบน ยาว 3-4 มม. มี 6-9 เส้น ส่วนดอกย่อยมีกาบล่าง (lemma) ยาว 3-3.5 มม. ปลายแหลมโค้งเป็นรูปเรือเห็นได้ชัด มีเสันใกล้ขอบข้างละ 1-2 เสัน แต่มองเห็นไม่ชัด ที่สันมีขนสากและมีเส้น 3-4 เลัน มองเห็นซัดเจน
กาบบน (palea) ยาว 2.5-3 มม. ปลายแหลม มีเส้นตามยาวเห็นเด่นช้ด 2 เส้น อับเรณูรูปไข่แกมรูปขอบ ขนานกว้าง สีเหลือง ยาว 0.5-0.75 มม. ปลายเกสรเพศเมียสีม่วง มองเห็นไม่ชัด
ผล มีเปลือกซึ่งโปร่งแสงหุ้มอยู่อย่างหลวม ๆ สีออกแดงเข้มปนนํ้าตาล ตามขอบมีริ้วออกเป็นรัศมีโดยรอบ ยาว ประมาณ 1-2 มม.
สรรพคุณของหญ้าตีนกา
- นํ้าต้มรากหรือทั้งต้นของหญ้าตีนกา (รากให้ผลดีกว่า) กินเป็นยาขับเหงื่อ ลดไข้ ขับปัสสาวะ แก้บิด และเป็นยาบำรุงตับ
- นํ้าคั้นใบสดกินเป็นยา ขับนํ้าคาวปลาหลังคลอดบุตร

















