สมรสเท่าเทียม!! ชาว LGBTQIA+ ขอภาครัฐมากเกินไปหรือ?
ยังมีผู้ใหญ่อีกหลายคนที่ดูถูกความรักจองชาว LGBTQIA+ เพราะเขาไม่เจอแบบคนในครอบครัวที่เป็นชาวสีรุ้ง...จงยอมรับซึ่งกันแหละกันเพราะโลกมันก้าวมายุค 2022
สิทธิมนุษยชนคือสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนที่ควรจะมีสิทธิเสรีภาพในการใช้ชีวิตซึ่งอยู่บนพื้นฐานไม่สร้างความเดือดร้อนแก่บุคคลอื่น
การที่ขอการสมรสเท่าเทียมกันในทุกเพศ มันมากเกินไปหรือป่าว...
ยุค 2022 ความควรขีดเส้นผู้หญิงคู่กับผู้ชายอีกต่อไปครับ...ของแบบนี้อยู่ที่จิตใจไม่ใช่กายหยาบครับ
คน 2 คน รักกัน อยากใช้ชีวิตร่วมกัน ได้หรือเปล่า อันนี้ได้ในสังคมเปิดกว้างขึ้นกว่ายุคก่อนแต่
การคนเราจะสร้างชีวิตด้วยกันแต่มีเส้นที่ขวางกั้นไม่ใช้ชีวิตคู่ใช้ได้อย่างเต็มที่...เพราะกฏหมายที่ยังไม่ยอมรับการใช้ชีวิตคู่เป็นรูปธรรม...
เพราะ
บางสิ่งสามารถทำร่วมกันหรือดูแลกันได้เฉพาะคู่สมรสเท่านั้น
- สิทธิและหน้าที่ในการหมั้นและรับหมั้น
- หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูกันและกัน
- หน้าที่ในการเป็นผู้อนุบาล/ผู้พิทักษ์ ถ้าอีกฝ่ายเป็นคนไร้หรือเสมือนไร้ความสามารถ
- สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะ
- สิทธิดำเนินคดีอาญาแทนคู่อีกฝ่าย
- สิทธิจัดการทรัพย์สินร่วมกัน
- สิทธิการให้และรับมรดก
- สิทธิในการเลิกเป็นคู่ (หย่า) โดยเหตุแห่งความยินยอมของอีกฝ่าย
- สิทธืรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน
- สิทธิในการเซ็นยินยอมรักษาพยาบาล
- สิทธิในการจัดการศพอีกฝ่ายที่เสียชีวิต
- สิทธิรับสวัสดิการร่วมจากรัฐในฐานะคู่สมรส
- สิทธิในการใช้นามสกุลร่วมกับอีกฝ่าย
- สิทธิในการเปลี่ยนสัญชาติอีกฝ่ายเป็นสัญชาติไทย
- สิทธิในการขอวีซ่าเดินทางในฐานะคู่สมรส
ซึ่งถ้าสิทธิเหล่านี้ไม่ขีดกรอบด้วยการสมรส คือสามารถทำได้อย่างเสรี ผมว่าเขาคงไม่ขอการสมรสหรอกครับ
ตลอดช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา หลายชาติในประชาคมโลกต่างค่อยๆ ทยอยเปิดพื้นที่และโอบรับความแตกต่างหลากหลายในสังคมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในมิติของความหลากหลายทางเพศและความเท่าเทียมทางเพศ ปัจจุบันมีอย่างน้อย 30 ชาติทั่วโลกที่ผ่านกฎหมาย
#สมรสเท่าเทียม แล้ว อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่นเดียวกับคู่รักชายหญิง
โดยเนเธอร์แลนด์ถือเป็นประเทศแรกในโลกที่ประกาศใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2001 ก่อนที่จะตามมาอีกหลายๆ ชาติในยุโรปและลาตินอเมริกา ซึ่งขณะนี้มีเพียงไต้หวันเพียงชาติเดียวในเอเชียที่ประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของสังคม LGBTQIA+ ในเอเชียที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2019
สำหรับผมคิดว่าควรมีนะครับ..
คู่รักบางคู่เขารักกันช่วยสร้างฐานะกันแต่พอเกินอีกคนที่มีชื่อในทรัพย์สินตาย คว้างเลยนะไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้น...แล้วที่ทำกันมาคืออะไร...
.......หรือบางคนคู่ชีวิตป่วย ตนมีสิทธิในการรักษาพยาบาลแต่ไม่สามารถเดินเรื่องได้..เคว้งเช่นกัน
และอีกหลายๆกรณีครับ
เพื่อนละว่าไง!!
ควรมีมั้ยสมรสเท่าเทียมกัน
ขอบคุณข้อมูลภาพ












