สังคัง โรคที่ฟังแล้วเหมือนตลกขบขัน
พูดถึงสังคัง กลายเป็นเรื่องตลกสนุกสนานในหมู่คนตลกๆ แต่เป็นอาการคัน ที่เกามัน แต่เกาลำบาก ฟังดูดี พูดถึงกันจัง จนคำว่าสังคัง ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาๆ
แต่รู้มั๊ย? สังคัง ถือเป็นโรคผิวหนังที่สร้างความน่ารำคาญอย่างมากๆ สำหรับคนที่เป็น นอกจากดูแลให้หายยาก เนื่องจากเป็นบริเวณที่อับชื้น และอยู่ในส่วนค่อนข้างลับ จะดูแลอย่างไรให้หายขาดได้ คนส่วนมากจะรู้จักและนึกภาพออก หากพูดว่าเป็นขี้กลาก เป็นเกลื้อน จะรู้ถึงยี้ขึ้นมาทันที
สังคังเกิดจากเชื้อในกลุ่มของเชื้อรา เดอมาโทไฟต์ (Dermatophyte) มักจะเกิดบริเวณขาหนีบ อวัยวะเพศ บริเวณต้นขาด้านใน ก้น หรือผิวหนังที่มีความอับชื้นสูง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรากลุ่มเดียวกับโรคกลาก ซึ่งก็คือ เชื้อรา นั่นเอง
สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่ส่วนมากจะพบในวัยผู้ใหญ่มากกว่าวัยเด็ก และมักจะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่าเลยทีเดียว
โรคสังคัง เกิดจากการสวมใส่เสื้อผ้าอับชื้นเป็นเวลานาน เสื้อผ้าไม่สะอาด รัดแน่น นักกีฬาที่มีเหงื่อเปียกโชกชื้น เป็นเวลานานๆ มีความอับชื้นที่ผิวหนังที่มากเกินไป เสื้อผ้าไม่สะอาด อับชื้น ทำให้เชื้อราสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว บางคนใส่เสื้อผ้าร่วมกับผู้มีเชื้อโรค ก็สามารถติดต่อกันได้ จากการสัมผัสโดยตรง จึงห้ามใช้ของร่วมกับผู้ที่เป็นโรคเด็ดขาด
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเกิดเชื้อราได้ง่าย เกิดจาก ปัญหาสุขภาพบางอย่างด้วย เช่น ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ โรคเบาหวาน โรคอ้วน น้ำหนักเกิน หรือโรคที่ทำให้เกิดเหงื่อ และแรงเสียดสีมากกว่าคนปกติก็ทำให้เกิดโรคได้
การรักษาโรคสังคัง สามารถรักษาให้หายขาดด้วยตัวเองที่บ้านได้ โดยการซื้อยาในกลุ่มต้านหรือฆ่าเชื้อรา หรือครีมสำหรับรักษาโรคเชื้อราผิวหนังที่มีตัวยา โครไทรมาโซล หรือมีตัวยา ไบโฟนาโซล
โดยทายาบริเวณผื่นให้ทั่วหลังอาบน้ำ เช้า-เย็น เป็นเวลานานประมาณ 2-4 สัปดาห์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกสุขลักษณะ เช่น ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่ติดเชื้อ ควรให้ผิวหนังแห้งสนิทอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ผิวเปียกชื้น อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า และชุดชั้นในทุกวัน และสวมเสื้อผ้า โปร่งสบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป ให้ระบายอากาศได้ดีก็ช่วยได้ รักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ และอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ควรหลีกเลี่ยงการสร้างความชื้นที่มากเกินไปให้กับผิวหนัง เพราะเชื้อราสามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวของสิ่งของได้ เสื้อผ้าที่มีเหงื่อ หรืออับชื้นไม่ควรหมักหมมไว้ ควรซักทันที ลดน้ำหนัก หากมีภาวะอ้วน เพราะขาหนีบจะอับชื้นได้ง่าย
สามารถทาแป้งเพื่อช่วยลดความอับชื้นหลังการออกกำลังกาย แต่ควรเช็ดผิวให้แห้งสนิทก่อนทาแป้งนะคะ รักษาความสะอาดบริเวณที่ติดเชื้อด้วยสบู่อ่อน ควรหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้ผิวบริเวณที่เป็นอับชื้น จะทำให้อาการของโรคทุเลาลง
สำหรับการดูแลตนเอง เมื่อมีอาการให้ ทายาต้านเชื้อราสม่ำเสมอตามคำแนะนำ ของแพทย์ เนื่องจากหากใช้ไม่ติดต่อกัน เชื้ออาจดื้อยาได้
สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ หากใช้ยาแล้วไม่หายขาดหลังจาก 4 สัปดาห์ อาจมีการขูดผิวบริเวณที่เป็น เพื่อนำเชื้อไปส่องกล้องหาต้นเหตุ และวางแผนการรักษาต่อไป

















